วันเสาร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

Assignment 9

Assignment 9 สรุปกิจกรรมการเรียนการสอนในแต่ละสัปดาห์

Week 1

ลักษณะของกิจกรรมและผลการเรียนรู้ที่ได้รับ
         ในสัปดาห์แรกได้ศึกษาเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ของ Website Google เพิ่มเติมจากความรู้เดิมที่นักศึกษาเองได้เคยลงมือใช้เองมาก่อน ซึ่งก่อนหน้าที่จะได้มาเรียนรู้ในชั่วโมงนี้ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าหลายท่านใช้ประโยชน์จาก Website Google แค่เพียงการ Search ข้อมูลต่างๆเท่านั้น หรืออย่างมากก็เพียงใช้ Google Translate เพื่อแปลภาษาเท่านั้น โดยในการเรียนครั้งนี้ทำให้ผู้เรียนได้ทราบถึงการใช้ งาน Website Google หลากหลายมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น การใช้ Application ต่างๆ ที่เราสามารถ เลือก Search และ Download ไว้ที่หน้าจอ Website Google ของเราได้เลย สะดวกและมีประโยชน์มากๆค่ะ นอกจากนี้ยังได้ศึกษาเกี่ยวกับการสร้าง Blogger เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่างๆ หรือสร้างเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อเป็นสื่อการเรียนการสอนแก่นักเรียนอีกด้วย

Week 2

ลักษณะของกิจกรรมและผลการเรียนรู้ที่ได้รับ
           ในสัปดาห์ที่สองได้ศึกษาเกี่ยวกับการสร้าง Infographic โดยเราได้เรียนรู้ว่าการสร้าง Infographic สร้างได้อย่างไร มีประโยชน์อย่างไรบ้าง เราได้ศึกษาในเชิงทฤษฎีเบื้องต้นก่อนที่จะนำความรู้ที่ได้รับในสัปดาห์นี้ไปปฏิบัติจริงในสัปดาห์ต่อไป ซึ่งปฏิเสธไม่ได้เลยว่าก่อนหน้านี้เราไม่ได้ทราบเลยว่า Infographic มีประโยชน์มากมายขนาดนี้ อาจเห็นตามป้ายประกาศ หรือให้ความรู้ต่างๆมากมาย แต่ไม่ได้ทราบวิธีการปฏิบัติว่าแท้จริงแล้ว ไม่ได้ยากอย่างที่คิด เราทุกคนสามารถทำได้ นำไปบูรณาการได้ ผลการเรียนรู้ในครั้งนี้ดิฉันจะนำการทำ Infographic ไปใช้ในวิชาเคมีเพื่อให้นักเรียนมองเห็นภาพการเรียนการสอนในเชิงมโนทัศน์มากยิ่งขึ้น ดิฉันคิดว่าหากมีเวลาว่างก็จะนำไปทำป้ายเพิ่มความรู้ในเรื่องต่างๆให้นักเรียนเพิ่มเติมในจุดต่างๆของโรงเรียน



Week 3

ลักษณะของกิจกรรมและผลการเรียนรู้ที่ได้รับ
          ในสัปดาห์ที่สามได้ศึกษาเกี่ยวกับการทำ Google form ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในบริการของกลุ่ม Google Docs ที่ช่วยให้เราสร้างแบบสอบถามออนไลน์ หรือใช้สำหรับรวบรวมข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว โดยที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ในการใช้งาน Google Form ผู้ใช้สามารถนำไปปรับประยุกต์ใช้งานได้หลายรูปแบบอาทิ เช่น การทำแบบฟอร์มสำรวจความคิดเห็น การทำแบบฟอร์มสำรวจความพึงพอใจ การทำแบบฟอร์มลงทะเบียน และการลงคะแนนเสียง ซึ่งในฐานะครูเราสามารถนำมาใช้ทำแบบสอบถาม ทำแบบทดสอบก่อนเรียน แบบทดสอบหลังเรียนออนไลน์ได้ อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น 



Week 4


ลักษณะของกิจกรรมและผลการเรียนรู้ที่ได้รับ
            ในสัปดาห์ที่สี่ได้ศึกษาเกี่ยวกับการทำ E-book และได้ลงมือทำ Infographic ในหัวข้อสถานที่ท่องเที่ยวหน้าฝน ในภาคบ่ายได้ทำ E-book ในวิชาที่ตนเองสอน โดยดิฉันทำ E-book ในวิชาเคมี เรื่องปริมาณสารสัมพันธ์ ซึ่งดิฉันคิดว่า E-book และ Infographic นั้นมีประโยชน์อย่างมากในการนำไปใช้จัดการเรียนการสอนในปัจจุบัน ซึ่งจะสามารถทำให้นักเรียนให้ความสนใจแก่วิชานั้นๆมากยิ่งขึ้นและยังช่วยให้นักเรียนเข้าใจในเนื้อหาต่างๆได้ง่ายขึ้น ส่งผลให้ผลการเรียนของนักเรียนดีขึ้นด้วยนั่นเอง นับว่าเป็นประโยชน์อย่างมาก



Week 5


ลักษณะของกิจกรรมและผลการเรียนรู้ที่ได้รับ
            ในสัปดาห์ที่ห้าได้ศึกษาเกี่ยวกับศตวรรษที่ 21 และ ประเทศไทย 4.0 โดยเชื่อมโยงว่าแนวคิดดังกล่าวนั้นมีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาอย่างไร โดยมอบหมายให้แต่ละกลุ่มเขียน Mind mapping ขนาดใหญ่ขึ้นมาและรายงานเกี่ยวกับแนวคิดการปรับปรุงพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เชื่อมโยงกับศตวรรษที่ 21 และประเทศไทย 4.0



Week 6


ลักษณะของกิจกรรมและผลการเรียนรู้ที่ได้รับ
            ในสัปดาห์ที่หกได้ศึกษาเกี่ยวกับการทำแบบประเมินการประเมินสื่อการสอนการเรียนการสอน ซึ่งในที่นี้เป็นสื่อทางการศึกษา เป็นส่วนหนึ่งหรืออาจเรียกว่าการประเมินผลิตภัณฑ์ หรือประเมินวัสดุ หรือนวัตกรรมทางการศึกษา หรือการประเมินสื่อการเรียนรู้ โดยให้ทุกคนเตรียมการสอนโดยใช้สื่อนวัตกรรมมาในสัปดาห์ถัดไป โดยในสัปดาห์นี้เราจะต้องสร้างแบบประเมินในแต่ละหัวข้อให้ครบถ้วนก่อน นำไปใช้จริงในชั่วโมงถัดไป



Week 7


ลักษณะของกิจกรรมและผลการเรียนรู้ที่ได้รับ
            ในสัปดาห์ที่เจ็ดได้ศึกษาเกี่ยวกับการใช้ Application ใน Website google โดยให้ Download และนำมาใช้จริงได้ ศึกษา และดูว่าได้ประโยชน์อย่างไรบ้าง ศึกษา PLN ทำบทสรุปเป็นเปเปอร์ส่ง จากการศึกษาครั้งนี้เราได้นำ Application ต่างๆมาใช้จริงและทราบประโยชน์เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น


Week 8


ลักษณะของกิจกรรมและผลการเรียนรู้ที่ได้รับ
         วันนี้ได้นำเสนอเกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยี โดยดิฉันเรื่องเสนอนวัตกรรมดยการใช้สื่อโครงสร้างโมเลกุล ในหัวข้อเรื่อง การศึกษาโครงสร้างของของแข็ง และได้ฟังการนำเสนอนวัตกรรมทางการเรียนการสอนของเพื่อนว่าเพื่อนๆใช้นวัตกรรมใดบ้างในการจัดกาเรรียนการสอน หลังจากพรีเซ็นเรียบร้อยก็ได้ทำแบบประเมินที่จัดทำเมื่อสัปดาห์ก่อนแล้ว จากสัปดาห์นี้ทำให้เราสามารถนำการจัดทำสื่อของเพื่อนๆหลายคนมาเป็นแบบอย่างในการจัดทำสื่อในวิชาของตนเองได้อีกด้วย



Assignment 8

Assignment 8 PRESENTATION INNOVATION และแบบสอบถามความพึงพอใจ

Week 8 : 1 กรกฎาคม 2560
หัวข้อ PRESENTATION นวัตกรรมในการใช้สื่อโครงสร้างโมเลกุล

💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙

วันนี้ได้นำเสนอเกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยี โดยดิฉันเรื่องเสนอนวัตกรรม
ดยการใช้สื่อโครงสร้างโมเลกุล ในหัวข้อเรื่อง การศึกษาโครงสร้างของของแข็ง















หลังจากนำเสนอเรียบร้อย
ทุกคนจะต้องทำแบบสอบถามความพึงพอทั้งหมด 20 หัวข้อดังนี้






👯👯👯👯👯👯👯👯👯👯👯👯👯👯👯👯👯👯👯👯👯👯👯👯👯👯👯👯👯👯

ภาพการนำเสนองานในวันนี้






💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗




แหล่งการเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้ทางการศึกษา💘

ความหมายของเครือข่าย
                เครือข่ายการเรียนรู้ (Learning Network) หมายถึง การแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด ข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ และการเรียนรู้ระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคล องค์การ และแหล่งความรู้ที่มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง จนเป็นระบบที่เชื่อมโยงกัน ส่งผลให้เกิดการเผยแพร่และการประยุกต์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อวัตถุประสงค์ทางวิชาชีพหรือทางสังคม
แนวความคิด

               การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนต้องเป็นผู้จัดกระทำต่อสิ่งเร้าหรือสาระการเรียนรู้ มิใช่เพียงรับสิ่งเร้าหรือสาระเข้ามาเท่านั้น ผู้เรียนต้องเป็นผู้สร้างความมายของสิ่งเร้า หรือข้อความความรู้ ที่รับเข้ามาด้วยตนเอง กระบวนการสร้างความหมายของสิ่งเร้าที่รับเข้ามาที่เป็นประสบการณ์เฉพาะตน (Personal experience) ซึ่งมีความแตกต่างกันและมีกระบวนการคิดที่แตกต่างกัน ดังนั้น การเรียนรู้ของบุคคลจึงเป็นกระบวนการที่แต่ละบุคคลต้องดำเนินการเอง เพราะกระบวนการสร้างความหมายเป็นกระบวนการเฉพาะตน

หลักสำคัญของเครือข่ายการเรียนรู้
               การเรียนรู้ตลอดชีวิตควรเริ่มจากการมีส่วนร่วมของบุคคล องค์กรและชุมชนในการตระหนักถึงปัญหาและการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการสร้างเสริมประสบการณ์ การถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารซึ่งกันและกัน จนทำให้เกิดการเรียนรู้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ได้สรุปหลักการสำคัญของเครือข่ายการเรียนรู้ไว้ ดังนี้

                   1.  การกระตุ้นความคิด ความใฝ่แสวงหาความรู้ จิตสำนึกในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น และการมีส่วนร่วมในการพัฒนา
                   2.  การถ่ายทอด แลกเปลี่ยน การกระจายความรู้ทั้งในส่วนของวิทยากรสากลและภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อสนับสนุนการสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ
3.  การแลกเปลี่ยนข่าวสารกับหน่วยงานต่างๆ ของทั้งในภาครัฐและเอกชน

4.  การระดมและประสานการใช้ทรัพยากรร่วมกัน เพื่อการพัฒนาและลดความซ้ำซ้อน สูญเปล่าให้มา
ที่สุด

              

               
อ้างอิง : 
http://sarocha2461.blogspot.com/2015/10/blog-post.html
https://www.gotoknow.org/posts/558941
https://antawe.wordpress.com

          💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗


งานวิจัยทางด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาในอนาคต

แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต
 การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในคริสต์ศตวรรษที่21มีแนวโน้มที่จะพัฒนาคอมพิวเตอร์ให้มีความสามารถใกล้เคียงกับมนุษย์ เช่น การเข้าภาษาสื่อสารของมนุษย์ โครงข่ายประสาทเทียม ระบบจำลอง ระบบเสมือนจริง โดยพยายามนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากขึ้นลดข้อผิดพลาดและป้องกันไม่ให้นำไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้องหรือผิดกฎหมาย 

แนวโน้มใน ด้านบวก 
การพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมโยงกันทั่วโลก ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ช่องทางการดำเนินธุรกิจ เช่น การทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การผ่อนคลายด้วยการดูหนัง ฟังเพลง และบันเทิงต่างๆ เกมออนไลน์
การพัฒนาให้คอมพิวเตอร์สามารถฟังและตอบเป็นภาษา พูดได้ อ่านตัวอักษรหรือลายมือเขียนได้ การแสดงผลของคอมพิวเตอร์ได้เสมือนจริง เป็นแบบสามมิติ และการรับรู้ด้วยประสาทสัมผัส เสมือนว่าได้อยู่ในที่นั้นจริง
การพัฒนาระบบสารสนเทศ ฐานข้อมูล ฐานความรู้ เพื่อพัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญและการจัดการความรู้ 
การศึกษาตามอัธยาศัยด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) การเรียนการสอนด้วยระบบโทรศึกษา (tele-education) การค้นคว้าหาความรู้ได้ตลอด 24 ชั่วโมงจากห้องสมุดเสมือน (virtual library) การพัฒนาเครือข่ายโทร คมนาคม ระบบการสื่อสารผ่านเครือข่ายไร้สาย เครือข่ายดาวเทียม ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ทำให้สามารถค้นหาตำแหน่งได้อย่างแม่นยำ  การบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ โดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเครือข่ายการสื่อสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการ ดำเนินการของภาครัฐที่เรียกว่า รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-government) รวมทั้งระบบฐานข้อมูลประชาชน หรือ e-citizen


แนวโน้มใน ด้านลบ 
ความผิดพลาดในการทำงานของระบบ คอมพิวเตอร์ ทั้งส่วนฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ที่เกิดขึ้นจากการออกแบบและพัฒนา ทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบและสูญเสียค่าใช้จ่ายในการแก้ปัญหา การละเมิดลิขสิทธิ์ของทรัพย์สินทางปัญญา การทำสำเนาและลอกเลียนแบบ การก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ การโจรกรรมข้อมูล การล่วงละเมิด การก่อกวนระบบคอมพิวเตอร์ 


แนวโน้มระบบสารสนเทศสำนักงานในอนาคต
ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้บูรณาการเข้าสู่ระบบธุรกิจ ดังนั้นองค์การที่จะอยู่รอดและมีพัฒนาการต้องสามารถปรับตัวและจัดการกับเทคโนโลยีอย่างเหมาะสม โดยหัวข้อนี้จะกล่าวถึงเทคโนโลยีสารสนเทศที่จะมีผลต่อการดำเนินธุรกิจในอนาคต เพื่อให้ผู้บริหารในฐานะหัวใจสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์การได้ศึกษา แต่เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีสารสนเทศอาจทำให้เทคโนโลยีที่กล่าวถึงในที่นี้ล้าสมัยได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ผู้บริหารที่สนใจจะต้องศึกษาติดตามความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยเทคโนโลยีสารสนเทศที่สำคัญในอนาคตมีดังต่อไปนี้
1. คอมพิวเตอร์ (computer) ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้พัฒนาไปจากยุคแรกที่เครื่องมีขนาดใหญ่ทำงานได้ช้า ความสามารถต่ำ และใช้พลังงานสูง เป็นการใช้เทคโนโลยีวงจรรวมขนาดใหญ่ (very large scale integrated circuit : VLSI) ในการผลิตไมโครโปรเซสเซอร์ (microprocessor) ทำให้ประสิทธิภาพของส่วนประมวลผลของเครื่องพัฒนาขึ้นอย่างเห็นได้ชัด นอกจากนี้ยังได้มีการพัฒนาหน่วยความจำให้มี ประสิทธิภาพสูงขึ้น แต่มีราคาถูกลง ซึ่งช่วยเพิ่มศักยภาพในการทำงานของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในปัจจุบัน
2. ปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligenceหรือ AI เป็นการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ให้มีความสามารถที่จะคิดแก้ปัญหาและให้เหตุผลได้เหมือนอย่างการใช้ภูมิปัญญาของมนุษย์จริง ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ในหลายสาขาวิชาได้ศึกษาและทดลองที่จะพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานที่มีเหตุผล โดยการเลียนแบบการทำงานของสมองมนุษย์ ซึ่งความรู้ทางด้านนี้ถ้าได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจะสามารถนำมาประยุกต์ใช้งานต่าง ๆ อย่างมากมาย
3. ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (executive information systemหรือ EIS เป็นการพัฒนาระบบสารสนเทศที่สนับสนุนผู้บริหารในงานระดับวางแผนนโยบายและกลยุทธ์ขององค์การโดยที่ EIS จะถูกนำมาให้คำแนะนำผู้บริหารในการตัดสินใจเมื่อประสบปัญหาแบบไม่มีโครงสร้างหรือกึ่งโครงสร้าง โดย EIS เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการที่พิเศษของผู้บริหารในด้านต่าง ๆ เช่น สถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์การ รวมทั้งสถานะของคู่แข่งขันด้วย โดยที่ระบบจะต้องมีความละเอียดอ่อนตลอดจนง่ายต่อการใช้งาน เนื่องจากผู้บริหารระดับสูงจำนวนมากไม่เคยชินกับการติดต่อและสั่งงานโดยตรงกับระบบคอมพิวเตอร์
4. การจดจำเสียง (voice recognitionเป็นความพยายามของนักวิทยาศาสตร์ที่จะทำให้คอมพิวเตอร์จดจำเสียงของผู้ใช้ ปัจจุบันการพัฒนาเทคโนโลยีสาขานี้ยังไม่ประสบความสำเร็จตามที่นักวิทยาศาสตร์ต้องการ ถ้าในอนาคตนักวิทยาศาสตร์ประสบความสำเร็จในการนำความรู้ต่าง ๆ มาใช้สร้างระบบการจดจำเสียง ก็จะสามารถสร้างประโยชน์ได้อย่างมหาศาลแก่การใช้งานคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยที่ผู้ใช้จะสามารถออกคำสั่งและตอบโต้กับคอมพิวเตอร์แทนการกดแป้นพิมพ์ ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ที่ไม่เคยชินกับการใช้คอมพิวเตอร์ให้สามารถปรับตัวเข้ากับระบบได้ง่าย
5. การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (electronics data interchangeหรือ EDI เป็นการส่งข้อมูลหรือข่าวสารจากระบบคอมพิวเตอร์หนึ่งไปสู่ระบบคอมพิวเตอร์อื่นโดยผ่านทางระบบสื่อสารข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
6. เส้นใยแก้วนำแสง (fiber optics) เป็นตัวกลางที่สามารถส่งข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็วโดยอาศัยการส่งสัญญาณแสงผ่านเส้นใยแก้วนำแสงที่มัดรวมกัน การนำเส้นใยแก้วนำแสงมาใช้ในการสื่อสารก่อให้เกิดแนวความคิดเกี่ยวกับ “ ทางด่วนข้อมูล (information superhighway)” ที่จะเชื่อมโยงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ได้มีโอกาสเข้าถึงข้อมูลและสารสนเทศต่าง ๆ ได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น ปัจจุบันเทคโนโลยีเส้นใยแก้วนำแสงได้ส่งผลกระทบต่อวงการสื่อสารมวลชนและการค้าขายสินค้าผ่านระบบเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์
7. อินเทอร์เน็ต (internetเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงไปทั่วโลก มีผู้ใช้งานหลายล้านคน และกำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยที่สมาชิกสามารถติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนค้นหาข้อมูลจากห้องสมุดต่าง ๆ ได้ ในปัจจุบันได้มีหลายสถาบันในประเทศไทยที่เชื่อมระบบคอมพิวเตอร์กับเครือข่ายนี้ เช่น ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (Nectec) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย เป็นต้น
8. ระบบเครือข่าย (networking system) โดยเฉพาะระบบเครือข่ายเฉพาะพื้นที่ (local area network : LAN) เป็นระบบสื่อสารเครือข่ายที่ใช้ในระยะทางที่กำหนด ส่วนใหญ่จะภายในอาคารหรือในหน่วยงาน LAN จะมีส่วนช่วยเพิ่มศักยภาพในการทำงานของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลให้สูงขึ้น รวมทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน การใช้ข้อมูลร่วมกัน และการเพิ่มความเร็วในการติดต่อสื่อสาร นอกจากนี้ระบบเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลยังผลักดันให้เกิดการกระจายความรับผิดชอบในการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศไปยังผู้ใช้มากกว่าในอดีต
9. การประชุมทางไกล (teleconferenceเป็นการนำเทคโนโลยีสาขาต่าง ๆ เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องถ่ายโทรทัศน์ และระบบสื่อสารโทรคมนาคมผสมผสาน เพื่อให้สนับสนุนในการประชุมมีประสิทธิภาพ โดยผู้นำเข้าร่วมประชุมไม่จำเป็นที่จะต้องอยู่ในห้องประชุมและพื้นที่เดียวกัน ซึ่งจะช่วยให้ประหยัดเวลาในการเดินทาง โดยเฉพาะในสภาวะการจราจรที่ติดขัด ตลอดจนผู้เข้าประชุมอยู่ในเขตที่ห่างไกลกันมาก
10. โทรทัศน์ตามสายและผ่านดาวเทียม (cable and sattleite TVการส่งสัญญาณโทรทัศน์ผ่านสื่อต่าง ๆ ไปยังผู้ชม จะมีผลทำให้ข้อมูลข่าวสารสามารถแพร่ไปได้อย่างรวดเร็วและครอบคลุมพื้นที่กว้างขึ้น โดยที่ผู้ชมสามารถเข้าถึงข้อมูลจากสื่อต่าง ๆ ได้มากขึ้น ส่งผลให้ผู้ชมรายการมีทางเลือกมากขึ้นและสามารถตัดสินใจในทางเลือกต่าง ๆ ได้เหมาะสมขึ้น
11. เทคโนโลยีมัลติมีเดีย (multimedia technologyเป็นการนำเอาคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เก็บข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มาจัดเก็บข้อมูลหรือข่าวสารในลักษณะที่แตกต่างกันทั้งรูปภาพ ข้อความ เสียง โดยสามารถเรียกกลับมาใช้เป็นภาพเคลื่อนไหวได้ และยังสามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ด้วยการประยุกต์เข้ากับความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์ เช่น หน่วยความจำแบบอ่านอย่างเดียวที่บันทึกในแผ่นดิสก์ (CD-ROM) จอภาพที่มีความละเอียดสูง (high resolution) เข้ากับอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อจัดเก็บและนำเสนอข้อมูล ภาพ และเสียงที่สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ได้ ปัจจุบันเทคโนโลยีมัลติมีเดียเป็นเทคโนโลยีที่ตื่นตัวและได้รับความสนใจจากบุคคลหลายกลุ่ม เนื่องจากเล็งเห็นความสำคัญว่าจะเป็นประโยชน์ต่อวงการศึกษา โฆษณา และบันเทิงเป็นอย่างมาก
12. การใช้คอมพิวเตอร์ในการฝึกอบรม (computer base trainingเป็นการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการฝึกอบรมในด้านต่าง ๆ หรือการนำเอาคอมพิวเตอร์มาช่วยในด้านการเรียนการสอนที่เรียกว่า “ คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน (computer assisted instruction) หรือ CAI” การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการสอนเปิดช่องทางใหม่ในการเรียนรู้ โดยส่งเสริมประสิทธิภาพการเรียนรู้ ตลอดจนปรัชญาการเรียนรู้ด้วยตนเอง
13. การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ (computer aided designหรือ CAD เป็นการนำเอาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และระบบข้อมูลเข้ามาช่วยในการออกแบบผลิตภัณฑ์ รวมทั้งรูปแบบหีบห่อของผลิตภัณฑ์หรือการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยทางด้านการออกแบบวิศวกรรมและสถาปัตยกรรมให้มีความเหมาะสมกับความต้องการและความเป็นจริง ตลอดจนช่วยลดต้นทุนการดำเนินงานในการออกแบบ โดยเฉพาะในเรื่องของเวลา การแก้ไข และการจัดเก็บแบบ
14. การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการผลิต (computer aided manufacturingหรือ CAM เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการผลิตสินค้าในโรงงานอุตสาหกรรม เนื่องจากระบบคอมพิวเตอร์จะมีความเที่ยงตรงและน่าเชื่อถือได้ในการทำงานที่ซ้ำกัน ตลอดจนสามารถตรวจสอบรายละเอียดและข้อผิดพลาดของผลิตภัณฑ์ได้ตามมาตรฐานที่ต้องการ ซึ่งจะช่วยประหยัดระยะเวลาและแรงงาน ประการสำคัญ ช่วยให้คุณภาพของผลิตภัณฑ์มีความสม่ำเสมอตามที่กำหนด
15. ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (geographic information systemหรือ GIS เป็นการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์ทางด้านรูปภาพ (graphics) และข้อมูลทางภูมิศาสตร์มาจัดทำแผนที่ในบริเวณที่สนใจ GIS สามารถนำมาประยุกต์ให้เป็นประโยชน์ในการดำเนินกิจการต่าง ๆ เช่น การวางแผนยุทธศาสตร์ การบริหารการขนส่ง การสำรวจและวางแผนป้องกันภัยธรรมชาติ การช่วยเหลือและกู้ภัย เป็นต้น




อ้างอิง:
http://pad2536.blogspot.com/p/10.html
https://sites.google.com/site/technologyunit11/mind-map/enew-nom-khxng-thekhnoloyi-kar-suksa-ni-xnakht
http://sci544148010.blogspot.com/p/10.html


Assignment 7

Assignment 7 Review google applications ที่นักศึกษาเลือกใช้


สัปดาห์นี้เราได้เลือก Application ที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 วิชาเคมี ดังนี้



ซึ่งการเรียนใน class นี้ทำให้ดิฉันทราบข้อมูลเพิ่มเติมว่าการใช้ Google applications มีประโยชน์มากมายต่อการจัดการเรียนการสอน โดยมี Applications มากมายที่ทำให้ผู้เรียนและผู้สอนสืบค้นข้อมูลและเข้าใจเนื้อหาต่างๆได้เพิ่มเติมมากยิ่งขึ้น ดิฉันจึงจะนำความรู้ที่ได้รับในการเรียนครั้งนี้ไปส่งต่อให้แก่นักเรียนเพื่อให้ได้รับประโยชน์กันอย่างแพร่หลายต่อไป ยกตัวอย่าง Applications ดิฉันเลือกใช้พร้อมข้อดีข้อเสียของ Applications เหล่านี้


1. Atoms In Motion, Student Ed. by Atoms In Motionเป็นแอพพลิเคชันเกี่ยวกับการเรียนรู้เรื่องอะตอม โดยในการเรียนการสอนวิชาเคมีนั้น นักเรียนส่วนใหญ่จะมองภาพอนุภาคขนาดเล็กไม่ออก และยากต่อการทำความเข้าใจ แอพพลิเคชันนี้จึงช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ในวิชาเคมีอย่างมากให้นักเรียนเข้าใจเห็นภาพอนุภาคขนาดเล็กๆ ยกตัวอย่างเช่น อะตอม ได้ดีมากยิ่งขึ้น


2. iTeach Chemistry-Lite by Patron Technosoft India Private Limitedเป็นแอพพลิเคชันรวบรวมเนื้อหาด้านเคมี ข้อดีคือ เป็นแอพพลิเคชันที่มีเนื้อหาเคมีครบถ้วน รวบรวมอยู่ในแอพพลิเคชันเดียว สามารถเข้าถึงได้ง่าย สะดวกต่อการทบทวนและเตรียมการสอน




Assignment 6

Assignment 6 หลักในการประเมินสื่อและนวัตกรรม

❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤

Week 6 : วันเสาร์ที่ 17 มิถุนายน 2560

หัวข้อ หลักในการประเมินสื่อและนวัตกรรม

การประเมินสื่อการสอนการเรียนการสอน ซึ่งในที่นี้เป็นสื่อทางการศึกษา เป็นส่วนหนึ่งหรืออาจเรียกว่าการประเมินผลิตภัณฑ์ หรือประเมินวัสดุ หรือนวัตกรรมทางการศึกษา หรือการประเมินสื่อการเรียนรู้ สำหรับการประเมินสื่อการสอนเป็นสิ่งประเมินทางการศึกษาที่มีการกล่าวถึงน้อยที่สุด เนื่องจากอาจเห็นว่าเป็นองค์ประกอบย่อยที่เล็กกว่าสิ่งอื่นในการจัดการศึกษา และบางครั้งก็เป็นส่วนหนึ่งของการประเมินสิ่งนั้นๆ  เช่น  การประเมินการสอน การประเมินหลักสูตร หรือการประเมินโครงการ เป็นต้น

วิธีการประเมินผลสื่อการเรียนการสอน
 การประเมินสื่อการเรียนการสอนนับว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากอีกขั้นตอนหนึ่งของกระบวนการเรียนการสอนการประเมินสื่อการเรียนการสอนมักจะควบคู่ไปกับวิธีการประเมินไปด้วย การประเมินสื่อเป็นการพิจารณาประสิทธิภาพและคุณภาพของสื่อการเรียนการสอน ซึ่งถ้าจะให้ได้ผลดีนั้นควรจะมีการประเมินสื่อนั้นเมื่อมีการใช้สื่อเป็น ครั้งแรกเพื่อการปรับปรุงการใช้สื่อในครั้งต่อไป การประเมินสื่ออาจทำได้โดย
  1. การประเมินโดยผู้สอน ผู้สอนควรเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการสอน เคยได้รับการฝึกอบรมจนมีความรู้ความชำนาญเกี่ยวกับการผลิตและมีประสบการณ์ในการใช้สื่อการเรียนการสอนมาเป็นอย่างดี
  2. การประเมินโดยผู้ชำนาญ ซึ่งผู้ชำนาญในที่นี้ หมายถึง ผู้ชำนาญด้านสื่อการเรียนการสอนและจะต้องมีประสบการณ์ด้านการประเมินด้วย ดังนั้น ผู้ชำนาญอาจเป็นผู้สอน เป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยที่สอนในสาขาวิชาสื่อและเทคโนโลยีการศึกษา รวมทั้งอาจารย์ด้านการวัดผลและการประเมินผลที่มีความรู้ความสามารถด้านสื่อการเรียนการสอน เป็นต้น หลักในการประเมินผลสื่อการเรียนรู้โดยผู้เชี่ยวชาญมีดังนี้
1) ควรเลือกผู้เชี่ยวชาญที่มีความเชี่ยวชาญ รอบรู้ มีประสบการณ์เกี่ยวกับสื่อนั้นๆ รวมทั้งเกี่ยวกับเนื้อหาสาระที่เสนอหรือถ่ายทอดโดยสื่อนั้น
2) การให้ผู้เชี่ยวชาญหลายคนประเมินผลสื่อการเรียนรู้ ย่อมได้ผลที่น่าเชื่อถือมากกว่าประเมินผลเพียงคนเดียวบ่งบอกคุณลักษณะและคุณภาพของสื่อการเรียนรู้ว่ามีความเหมาะสม ถูกต้อง หรือเหมาะสมที่จะนำไปใช้ในการเรียนการสอนได้หรือไม่
3) ในการประเมินผลสื่อการเรียนรู้แต่ละประเภท ควรใช้แบบประเมินผลเฉพาะของสื่อการเรียนรู้ประเภทนั้นๆ ซึ่งอาจมีความแตกต่างจากสื่อประเภทอื่นๆ
4) สำหรับสื่อการเรียนรู้ที่มีทั้ง Hardware และ Software นั้น จะประเมินผล Software เป็นสำคัญ แต่ถ้าต้องการประเมิน Hardware โดยเฉพาะก็จะมีเกณฑ์การประเมินสาหรับสื่อแต่ละประเภทเป็นเครื่องมือสาหรับการประเมินสื่อนั้นๆ
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน
 ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าการประเมินสื่อสามารถทำได้หลายวิธีและมีจุดมุ่งหมายที่ต่างๆกัน ดังนั้น เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเพื่อการประเมินสื่อจึงทำได้หลายลักษณะ คือ
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จะเป็นเครื่องมือวัดความรู้ของผู้เรียนภายหลังการเรียนจากสื่อแล้ว
  1. แบบทดสอบความถนัดเพื่อวัดสมรรถนะของผู้เรียนภายหลังเรียนจากสื่อ
  2. แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสำรวจซึ่งเครื่องมือนี้จะประกอบด้วยข้อความหรือคำ ถามต่างๆเกี่ยวกับสื่อหรืออาจจะมีช่องว่างให้เติมข้อความด้วยก็ได้ เครื่องมือลักษณะนี้ใช้ประเมินได้กับทุกกลุ่มเรียน
  3. การสังเกตเป็นการเฝ้าดูผลที่เกิดขึ้นจากการใช้สื่อการสอนตั้งแต่เริ่มต้นจนจบกระบวนการใช้
  4. การสัมภาษณ์เป็นการซักถามและพูดคุยกับทั้งผู้ผลิต ผู้ใช้และผู้เรียนเกี่ยวกับสื่อนั้น เพื่อนำข้อมูลมาประกอบพิจารณาในการประเมินสื่อ ลักษณะของเครื่องมือการประเมินสื่อการเรียนการสอน นอกจากที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น ยังมีเครื่องมืออีกหลายลักษณะที่สามารถนำมาประยุกต์ในการออกแบบเครื่องมือการประเมินสื่อได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายและวิธีการประเมิน
อ้างอิง
https://amtasanee.wordpress.com/2016
http://oknation.nationtv.tv/blog/Apinya0936/2013/12/24/entry-4
http://www.ssrkids.com/knowledge


Assignment 5

Assignment 5 ศตวรรษที่ 21 และ ประเทศไทย 4.0

Week 5 

ศตวรรษที่ 21 และ ประเทศไทย 4.0

สัปดาห์นี้เราจะต้องศึกษาเกี่ยวกับศตวรรษที่ 21 และ ประเทศไทย 4.0 โดยเชื่อมโยงว่าแนวคิดดังกล่าวนั้นมีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาอย่างไร โดยมอบหมายให้แต่ละกลุ่มเขียน Mind mapping ขนาดใหญ่ขึ้นมาและรายงานเกี่ยวกับแนวคิดการปรับปรุงพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เชื่อมโยงกับศตวรรษที่ 21 และประเทศไทย 4.0

ผลงานของกลุ่ม Society

ภาพบรรยากาศในการทำ Mind mapping


Video Presentation ของกลุ่มเราค่ะ 

https://www.facebook.com/beam.ty.5/videos/10212493209381784/


Thank You ❤






Assignment 4

Assignment 4 Infographic & E-book

Week 4 วันเสาร์ ที่ 3 มิถุนายน 2560
❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤

สัปดาห์นี้เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการทำ Infographic และ E-book ☺
เรามาทราบกันก่อนดีกว่าว่า Infographic และ E-book เป็นอย่างไร

Infographics คืออะไร 
            Infographic ย่อมาจาก Information Graphic คือ ภาพหรือกราฟิกซึ่งบ่งชี้ถึงข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นสถิติ ความรู้ ตัวเลข ฯลฯ เรียกว่าเป็นการย่นย่อข้อมูลเพื่อให้ประมวลผลได้ง่ายเพียงแค่กวาดตามอง ซึ่งเหมาะสำหรับผู้คนในยุคไอทีที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลซับซ้อนมหาศาลในเวลาอันจำกัด ( เหตุผลเพราะมนุษย์ชอบและจดจำภาพสวยๆ ได้มากกว่าการอ่าน )  และในปัจุบันกำลังเป็นที่นิยมในโลกของ Social Netword
       ประโยชน์และพลังของ Infographic นั้นมีอยู่มากมาย เพราะด้วยแผนภาพสวยๆนี้ สามารถทำให้คนทั่วๆไปสามารถเข้าถึง เข้าใจ ข้อมูลปริมาณมากๆ ด้วยแผนภาพภาพเดียวเท่านั้น ด้วยข้อมูลที่ถูกคัดกรองมาเป็นอย่างดี ทำให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่าย เป็นวิธีการนำเสนอข้อมูลเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งเราสามารถหยิบยกเรื่องราวเล็กๆ ไปจนถึงเรื่องราวใหญ่โตมานำเสนอ ในมุมมองที่แปลกตา ทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ในโลกปัจจุบัน


ซึ่งเนื้อหาในวันนี้ทำให้เราทราบว่า การที่เราจะทำ infographic นั้น ต้องดู ADDIE ซึ่งความหมายของมันก็คือ

A = การวิเคราะห์ → ผู้เรียน→ เนื้อหา → จุดประสงค์การเรียนรู้  → ทักษะ  → ความรู้  → เจตคติ

D = การออกแบบ→ story board → โปรแกรมที่ใช้

D = การพัฒนา 

I = การนำไปใช้

E = การประเมินผล


ในวันนี้วิทยากรให้นักศึกษาสร้าง Infographic จาก Website Canva ซึ่งสามารถสร้างได้อย่างง่ายดายโดยมีธีมให้เลือกหลากหลาย ในหัวข้อเรื่องการท่องเที่ยวหน้าฝน




รูปภาพแสดงเว็บไซต์ Canva

ผลงาน Infographic หัวข้อ สถานที่ท่องเที่ยวหน้าฝน

E-book คืออะไร 
อีบุ๊ค (eBook : electronic book) จะเป็นไฟล์คอมพิวเตอร์ประเภทหนึ่ง ในยุคแรกๆ จะเป็นไฟล์แบบ PDF โดยเนื้อหาในไฟล์จะมีลักษณะเหมือนหนังสือจริงๆ ซึ่งจะใช้ในกระบวนการทำเพลท ยิงฟิล์ม ด้วยความที่มี ลักษณะเหมือนหนังสือจริงๆ แต่เป็นไฟล์คอมพิวเตอร์ ทำให้ได้รับความนิยมในการนำไปใช้งาน เพราะหน้ากระดาษที่ได้จัดวางไว้อย่างไร ก็จะคงอยู่แบบนั้นไม่เปลี่ยนแปลงเหมือนการใช้งานพวกไฟล์ Word แต่ต้องเปิด อ่านจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ มือถือ หรือแท็บเล็ตพีซี

อีบุ๊คในปัจจุบันมีหลายแบบ ตามแต่จุดประสงค์ในการใช้งาน เมื่ออีบุ๊คเป็นไฟล์เอกสารประเภทหนึ่ง จึงสะดวกในการพกพา จำหน่าย จ่ายแจก สามารถรับส่ง ดาวน์โหลดผ่านอินเตอร์เน็ตได้ ก็อปปี้ไปใช้งานระหว่าง เครื่องได้ โดยเฉพาะเมื่อถือถือแบบสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตได้รับความนิยมในการใช้งาน การอ่าน eBook จึงมีความสะดวกมากกว่าเดิม เพราะเราสามารถเปิดอ่านได้ทันที

ในช่วงบ่ายนักศึกษาได้ลงมือทำ E-Book ของตนเอง

เอกสารอ้างอิง
http://www.siamebook.com/lbro/en/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81-ebook/546-isebook.html
https://en.wikipedia.org/wiki/ADDIE_Model
http://oknation.nationtv.tv/blog/digitalmarketing/2013/01/01/entry-2

Assignment 9

Assignment 9 สรุปกิจกรรมการเรียนการสอนในแต่ละสัปดาห์ Week 1 ลักษณะของกิจกรรมและผลการเรียนรู้ที่ได้รับ          ในสัปดาห์แรกได้ศึกษาเ...